วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

แมวไทย



แมวไทย คือแมวที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย คุณสมบัติที่ทำให้แมวไทยเหนือกว่าแมวชนิดอื่น คือ อุปนิสัย แมวไทยมีความฉลาด มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักคิด รู้จักประจบ รักบ้าน รักเจ้าของ และเหนืออื่นใด คือ รักความอิสระของตัวเองเป็นชีวิตจิตใจ อิสระที่ จะกิน จะดื่ม หรือจะไปไหนตามที่ใจชอบ ซึ่งถือว่าเป็นบุคลิกประจำตัวที่ทำให้แตกต่างจากแมวพันธุ์อื่น สีสันตามตัวของแมวไทย เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักรักแมวรู้สึกสุขใจยามได้มอง ไม่ว่าจะเป็น วิเชียรมาศ เก้าแต้ม ขาวมณีหรือขาวปลอด นิลรัตน์หรือดำปลอด ศุภลักษณ์หรือ ทองแดง สีสวาดหรือแมวไทยพันธุ์โคราช ต่างล้วนได้รับความสนใจ จากเจ้าของและผู้สนใจทั้งสิ้น
เมื่อปี
พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานแมววิเชียรมาศคู่หนึ่งให้แก่ กงสุลอังกฤษชื่อนาย โอเวน กูลด์ (Owen Gould) แมวไทยคู่นี้ชนะการประกวดแมวที่ กรุงลอนดอน และทำให้ชาวอังกฤษนิยมเลี้ยงแมวไทยมากขึ้น ในที่สุดก็แพร่หลายไปทั่วโลก และแมววิเชียรมาศก็เป็นที่รู้จักในภาษาอังกฤษว่า "Siamese Cat" หรือแมวสยาม

ชนิดของแมวไทย
แมวไทย(วิฬาร)ที่ยังเหลือให้พบเห็นในปัจจุบันนี้มี 6 ชนิดคือ วิเชียรมาศ สีสวาด ศุภลักษณ์ โกญจา ขาวมณี และ
แซมเสวตร แต่แท้จริงแล้วในสมุดข่อยโบราณได้กล่าวถึงแมวไทยว่ามีทั้งหมด 23 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็นแมวให้คุณ 17 ชนิด และ แมวร้ายให้โทษอีก 6 ชนิด
แมวให้คุณ 17 ชนิด
วิเชียรมาศ มีขนสีขาวแต่ที่ปาก หาง เท้าทั้งสี่และหูทั้งสองข้างรวมแปดแห่งมีสีดำ(สีเข้ม)มีนัยน์ตาประกายสดใส เลี้ยงไว้มีคุณค่ายิ่งลำนักหนา จักนำโภคาพิพัฒน์สมบัติเพิ่มพูล
ศุภลักษณ์ หรือ ทองแดง สีขนเป็นสีทองแดงตลอดตัว มีนัยน์ตาเป็นประกาย ใครเลี่ยงจักได้ยศถา ยิ่งพ้นพรรณนาเป็นอำมาตย์มนตรี
มาเลศ หรือ แมวโคราช หรือ สีสวาด มีขนสีดอกเลาเปรียบเสมือนกับเมฆสีเทายามฟ้ายับฝน มีนัยน์ตาหยาดเยิ้มประหนึ่งนำค้างย้ยต้องกลีบบัว ใครพบเร่งให้อุปถัมภ์ แมวนั้นจักนำมาซึ่งสุขสวัสดิ์มงคล
โกนจา หรือ มีสีดำละเอียด นัยน์ตาสีดอกบัวแรกแย้ม หางเรียวยาว ท่าทางการเดินสง่าเหมือนสิงโต แมวนี้เลี้ยงดีมีคุณหนักหนา จงเร่งหามาเลี้ยงเทอญอย่าแคลงสงสัย
นิลรัตน์ หรือ ดำปลอด สีดำทั้งตัว รวมถึงเล็บ ลิ้น ฟัน ดวงตา และกระดูก หางยาวตวัดได้จนถึงหัว เลี้ยงไว้แล้วเชื่อว่าจะมีความเจริญ มีทรัพย์ ปราศจากอันตราย
วิลาศ มีลำตัวสีดำจากคอไปตลอดท้อง จากสองหูไปจนถึงหางและขาทั้งสี่มีสีขาว ตาสีเขียว เชื่อว่าเลี้ยงไว้แล้วจะได้เป็นเจ้าคนนายคน มีเงินทองมากมาย
เก้าแต้ม มีสีขาวเป็นพื้น มีแต้มสีดำเก้าจุดที่คอ หัว ต้นขาหน้าและหลังทั้งสองข้างและที่ท้ายลำตัว เชื่อว่าเลี้ยงไว้แล้วจะรุ่งเรืองทางการค้าขาย
รัตนกำพล ตัวขาวเหมือนหอยสังข์ แต่รอบตัวตรงส่วนอกมีลักษณะคล้ายสายคาดสีดำ ตาสีเหลือง เชื่อว่าเลี้ยงแล้วจะมียศ ผู้อื่นยำเกรง
นิลจักร มีลำตัวดำสนิท ที่คอมีขนสีขาวอยู่รอบเหมือนกับปลอกคอ เชื่อว่าเลี้ยงแล้วจะมีทรัพย์มาก
มุลิลา ลำตัวดำ หูสองข้างมีสีขาว ตามีสีเหลืองเหมือนดอกเบญจมาศ เชื่อว่าแมวชนิดนี้เหมาะกับนักบวชเลี้ยงเพราะช่วยให้มีการเล่าเรียนดีสมปรารถนา
กรอบแว่น หรือ อานม้า มีปานลักษณะอานม้าบนหลัง เชื่อว่าแมวชนิดนี้มีราคาสูงถึงแสนตำลึงทองคำ และให้เกียรติยศแก่เจ้าของ
ปัดเสวตร หรือ ปัดตลอด ตัวมีสีดำเป็นพื้น ตั้งแต่จมูกไปตามแนวสันหลังถึงปลายหางมีสีขาว ตาเหลืองคล้ายกับพลอย หากเลี้ยงไว้จะมีความเจริญมากกว่าคนในสกุลเดียวกันและได้ลาภยศ
กระจอก ไม่กระจอกเหมือนชื่อ ลำตัวกลมมีสีดำ รอบปากมีสีขาว ตาสีเหลือง เลี้ยงแล้วเชื่อกันว่าจะได้ที่ดินเงินทอง ไพร่ก็จะได้เป็นเจ้านายคน
สิงหเสพย์ หรือ โสงหเสพย์ ลำตัวมีสีดำ ที่ปาก รอบคอ จมูกมีสีขาว ตาสีเหลือง ท่าทางเดินสง่าเหมือนสิงโต เลี้ยงแล้วมีสิริมงคล
การเวก ลำตัวสีดำ จมูกสีขาว ตาเป็นประกายสีทอง เชื่อกันว่าภายใน 7 เดือนที่ได้มาเลี้ยงจะได้ยศศักดิ์และลาภจำนวนมาก
จตุบท ตัวสีดำ เท้าทั้งสี่มีสีขาว ตาสีเหลืองเหมือนดอกโสน เชื่อว่าให้คุณกับคนเลี้ยง แต่ไม่เหมาะกับคนทั่วไป สมควรเลี้ยงแก่บุคคลชั้นสูงหรือราชินิกูลเท่านั้น
แซมเสวตร มีขนสีดำแซมขาว มีขนบางและสั้งรูปร่างเพรียว มีนัยน์ตาดั่งหิ่งห้อย เลี้ยงดีมีคุณหนักหนา จงเร่งหามาเลี้ยงเทอญอย่าแคลงสงสัย
ส่วน
ขาวมณี หรือ ขาวปลอด นั้นถึงแม้ไม่มีปรากฏในตำราแมวไทยแต่ก็จัดว่าเป็นแมวไทยด้วยเหมือนกัน
แมวร้ายให้โทษ 6 ชนิด
ทุพลเพศ มีขนสีขาว ดวงตาสีแดงดั่งโลหิตทาตาไว้ มีนิสัยไม่ดีชอบลักขโมยปลาไปกินทุกคำคืน ใครเลี้ยงไว้จะให้โทษไม่เป็นสุขเกิดความเดือดร้อนแรงผลาญ
พรรณพยัคฆ์ หรือ ลายเสือ มีขนลายเหมือนเสือ ลักษณะขนเหมือนชุบด้วยเกลือกับแกลบ มีนัยน์ตาสีแดงเจือสีเปือกตม มีเสียงร้องเหมือนเสียงผีโป่งร้องอยู่ตามป่าเขา ถือว่าเป็นแมวให้โทษอีกชนิดหนึ่ง
ปีศาจ เป็นแมวที่กินลูกตัวเอง ออกลูกมากี่ตัวกินหมด ลักษณะขนสาก ตัวผอม หนังยาน โบราณจัดเป็นแมวร้ายอย่านำมาเลี้ยงไว้
หิณโทษ เป็นแมวนำมาซึ่งสิ่งเลวร้าย นำภัยพิบัติมาสู่บ้าน ใครเลี้ยงไว้จะไม่เป็นมงคล ออกลูกมามักจะมีลูกตายอยู่ในท้อง
กอบเพลิง เป็นแมวที่ลึกลับชอบซ่อนตัวหลบหลีกผู้คน พอมันเห็นคนมันจะเดินหรือรีบวิ่งหนี ใครเลี้ยงไว้จะมีโทษถึงตัว
เหน็บเสนียด มีลักษณะเหมือนค่าง ชอบเอาหางขดซ่อนไว้ใต้ก้นเสมอ มีรูปร่างพิกลพิการ อย่าเลี้ยงไว้ในบ้านจะทำให้เสียชื่อเสียงและเกียรติยศ

เทศกาลทุ่งทานตะวันบาน

เทศกาลทุ่งทานตะวันบาน เป็นชื่อเรียกเทศกาลรวมๆ ในการจัดชมดอกทานตะวันในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย จะจัดขึ้นโดยจะมีในช่วงเดือนตุลาคม - เมษายน ของทุกปี โดยมีพื้นที่ปลูกใน อำเภอพัฒนานิคม บางส่วนของอำเภอเมืองลพบุรี รวมทั้งบริเวณโดยรอบเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และรวมถึงพื้นที่ติดต่อกันในจังหวัดสระบุรีอีกด้วย
การเยี่ยมชมทุ่งทานตะวันบาน สามารถเดินทางมาได้หลายเส้นทาง โดยทางถนนให้เดินทางมาตามถนนพหลโยธิน ก่อนเข้าเมืองลพบุรี 5 กิโลเมตร ให้เลี้ยวขวา เข้าเส้นทางไป อำเภอพัฒนานิคม (ตามทางหลวงหมายเลย 3017) มุ่งหน้า
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หรือเส้นทางที่สอง เดินทางตามถนนพหลโยธิน มาถึงสามแยกพุแค ให้ไปทางจังหวัดเพชรบูรณ์ (ตามทางหลวงหมายเลข 21) มุ่งหน้าสู่อำเภอพัฒนานิคมเช่นกัน ซึ่งทั้งสองเส้นทางนี้ในช่วงที่มีเทศกาลทุ่งทานตะวันบาน จะมีทิวทัศน์สองข้างทางที่สวยงามมาก ท่านสามารถเยี่ยมชม ถ่ายภาพ ในทุ่งทานตะวันได้ โดยอาจเสียค่าเยี่ยมชมเล็กน้อย รวมทั้งยังสามารถซื้อของฝาก เช่นน้ำผึ้ง หรือผลิตภัณฑ์จากดอกทานตะวันได้อีกด้วย
อีกเส้นทางหนึ่งที่นิยมคือ เส้นทางรถไฟ โดยจะมีรถไฟออกเดินทางจาก
สถานีรถไฟหัวลำโพงทุกวัน ซึ่งสามารถสอบถามข้อมูลจากการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยการโทร 1690 โดยขบวนรถไฟจะวิ่งผ่านอ่างเก็บน้ำของ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์บางขบวนจะจอดที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพื่อให้ผู้โดยสารได้แวะถ่ายภาพอีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เวลาสากล (Universal Time)


เวลาสากล (UT - Universal Time) คือหน่วยเวลาที่อ้างอิงการหมุนของโลก เป็นหน่วยเวลาสมัยใหม่ที่สืบทอดมาจากเวลาปานกลางกรีนิช (GMT - Greenwich Mean Time) อันได้แก่เวลา Mean Solar Time ของพื้นที่บนเส้นเมริเดียนแห่งกรีนวิช (Greenwich) ของสหราชอาณาจักร ซึ่งตรงกับเส้นเมริเดียนแรก (ลองจิจูด 0°) ตามหลักภูมิศาสตร์ บางครั้งมีการใช้เวลาปานกลางกรีนิชที่ผิด โดยเข้าใจว่าเป็นหน่วยเวลาเดียวกับเวลาพิกัดสากล (UTC) เวลาปานกลางกรีนิชนี้สามารถจำแนกเป็นเป็นเวลาพิกัดสากล และ UT1

ยาม

ยาม เป็นการนับเวลากลางคืนในประเทศไทยสมัยโบราณ และพบในการพากษ์ภาพยนตร์จีนที่เรียกว่า ชั่วยาม โดยในจีนแบ่ง 1 วันเป็น 12 ชั่วยามตามที่บอกไว้ในธงชาติสาธารณรัฐจีน ขณะที่หนึ่งยามของไทยมีค่าประมาณ 3 ชั่วโมง ดังนี้
ยามหนึ่ง หรือ หนึ่งยาม หมายถึง ช่วง
เวลา 18 นาฬิกา ถึง 21 นาฬิกา
ยามสอง หรือ สองยาม หมายถึง ช่วงเวลา 21 นาฬิกา ถึง 0 นาฬิกา
ยามสาม หรือ สามยาม หมายถึง ช่วงเวลา 0 นาฬิกา ถึง 3 นาฬิกา
ยามสี่ หรือ สี่ยาม หมายถึง ช่วงเวลา 3 นาฬิกา ถึง 6 นาฬิกา
ปัจจุบัน ยาม ถูกใช้ในความหมายว่า ส่วนของวัน เช่น ยามเช้า ยามสาย ยามเที่ยง ยามบ่าย
ยามเย็น ยามค่ำ ยามดึก เป็นต้น